หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง อริยสงฆ์ผู้เปี่ยมเมตตา
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง อริยสงฆ์ผู้เปี่ยมเมตตา
พระเครื่องของท่าน ชาวไทย และชาวต่างชาติ ต่างนับถือ ในด้านเมตตามหานิยม ค้าขายร่ำรวย แคล้วคลาดปลอดภัย
วันนี้เราขอนำเสนอ
พระสมเด็จ แพ พัน ปี
2510 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
ถือว่าเป็นพระสมเด็จพิมพ์เศียรบาท รุ่นแรกของหลวงพ่อ จำนวนการสร้าง
หลักร้อยองค์ หายากมากในเมืองไทย ณ ปจุบัน เพราะ ชาวสิงค์โปร์ ฮองกงและ
มาเลเซียจีน กว่านเก็บเกลี้ยง
พระสมเด็จแพพันเป็นพระเนื้อผง ที่มีเนื้อหาจัดสุด
หลวงพ่อแพท่านได้ลบผง เรียกว่า
ผงวิเศษห้าประการ เป็นผงหลักในการสร้างพระสมเด็จ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง
ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเห และ ผงพุทธคุณ โดยเฉพาะผงพุทธคุณนั้น
ท่านเขียนและลบด้วยพระคาถาชินบัญชร
เพื่อใช้เป็นส่วนผสม นอกจากผงวิเศษห้าประการแล้ว ยังมีผงอื่น ๆ
เป็นส่วนประกอบ เช่น ผงบดจากหนังสือ ๗ ตำนาน, ผงยันต์ในคัมภีร์ต่าง ๆ
เป็นต้น ในการทำผงแต่ละอย่างนั้น มีเคล็ดลับที่หลวงพ่อแพถือปฏิบัติคือ
รักษาความสะอาดบริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก,
ตั้งจิตสงบเป็นสมาธิจดจ่ออยู่กับคาถาอาคม และอักขระต่าง ๆ
โดยเฉพาะการบริกรรมภาวนา ต้องแม่นยำ ไม่ผิดพลาด ด้วยเหตุนี้
พระสมเด็จที่หลวงพ่อแพจัดสร้างขึ้น
จึงมีพุทธานุภาพทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เยี่ยมยอด
“พระสมเด็จแพพัน” รุ่นแรก
ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ.2510 คำว่า “แพ” นั้น หมายถึง หลวงพ่อแพ ส่วนคำว่า
“พัน” หมายถึง พระอธิการพัน
อดีตเจ้าอาวาสผู้เป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อครั้งบวชเณรที่ท่านเคารพนับถือมาก
พุทธลักษณะด้านหน้า จะเป็นพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร หรือ ทรงไกเซอร์
ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อครึ่งองค์ และ
ยันต์พุฒซ้อนอันเป็นยันต์ประจำของหลวงพ่อแพ
ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจากพระครูใบฎีกาเกลี้ยง วัดสุทัศน์
ส่วนขอบบนสุดด้านขวา จะเป็นอักขระตัว “อัง” และมีตัว “อุ” อยู่เหนือตัว
“อัง” ภายในบรรจุ ตะกรุต ทอง นาค เงิน
ประวัติหลวงพ่อแพ เขมังกโร วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
หลวงพ่อแพ เขมังกโร
เป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรี ท่านมีนามเดิมว่า “แพ ใจมั่นคง”
เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ตรงกับ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่
ปีมะเส็ง
การบรรพชา
ต่อมาปี พ.ศ 2463 เมื่อศึกษาหาความรู้จนอายุได้ 16 ปี
ก็ได้เดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อมาเยี่ยมโยมบิดาผู้ให้กำเนิด
และ โยมบิดา-มารดาบุญธรรม
เมื่อบุพการีทั้งสามของท่านเห็นว่าท่านโตพอสมควรแล้ว
จึงได้ให้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ
2463 ณ วัดพิกุลทอง ต.พิกุลทอง อ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี โดยมีพระอธิการพัน
จันทสโล เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ( ในขณะนั้น ) เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อบรรพชาเป็นสามเณร แล้ว ก็ได้เดินทางกลับไปอยู่วัดชนะสงครามตามเดิม
จนเมื่อปี พ.ศ 2466 ท่านสามารถสอบไล่นักเรียนนักธรรมตรีได้ ( ในสมัยนั้น
ผู้เข้าสอบต้องอายุ 19 ปีจึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบได้ ) นอกจากนี้แล้ว
ท่านยังได้ศึกษาบาลีไวยากรณ์ ต่อไปอีก จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ 2468
นับว่าได้นำเกียรติมาสู่วัดชนะสงคราม เป็นอย่างมาก
จากนั้นท่านได้ไปเล่าเรียนที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ โดยเป็นศิษย์ขอว
ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต ( เฮง เขมจารี )
การอุปสมบท
สามเณรเปรียญ แพ ขำวิบูลย์ ได้ทำการอุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปี บริบูรณ์
ในวันขึ้น 6 ค่ำ ปีขาลตรงกับวันพุธที่ 21 เมษา พ.ศ 2469 ณ
พระอุโบสถวัดพิกุลทอง
โดยมีพระมงคลทิพย์มุนี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์
, ท่านพระครูสิทธิเดช วัดชนะสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และท่านเจ้าอธิการอ่อน วัดจำปาทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ”
เขมังกโร ” แปลว่า ” ผู้ทำความเกษม ”
หลังจากอุปสมบทแล้ว พระแพ เขมังกโร หรือ
มหาแพ ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดชนะสงคราม
เพื่อตั้งใจศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรม
ให้ได้ในระดับสูงที่สุด เพื่อท่ีจะได้นำความรู้
ความสามารถที่ได้ฝักไฝ่ศึกษาเล่าเรียนนั้น นำไปสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่า
และประโยชน์ต่อชุมชน และพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ พระแพ เขมังกโร
พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียนหาความรู้ อ่านหนังสือตำราเรียนอยู่เสมอ
และในปีเดียวกันนั้นท่านสอบนักธรรมชั้นโทได้
การดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง
ในปี พ.ศ 2474 พระอาจารย์หยด พวงมสิต เจ้าอาวาสวัดพิกุลทอง ได้ลาสิกขา
ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างเว้นลง ชาวบ้านพิกุลทอง และชาวบ้านจำปาทอง
จึงนิมนต์ให้พระแพ มารับเป็นเจ้าอาวาส ในเดือนเมษายน พ.ศ 2474
ขณะนั้นท่านได้เดินทางกลับมาเยี่ยมโยมบิดาและญาติ
ซึ่งท่านได้พำนักอยู่ที่วัดพิกุลทอง
ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ 2484 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ทำกิจปริยัติธรรมวินัย ในราชทินนามที่ พระครูศรีพรหมโสภิต
พ.ศ 2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
พ.ศ 2521 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระสุนทรธรรมภาณี
พ.ศ 2530 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ วันที่ 5
ธันวาคม พ.ศ 2530 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ
60 พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชสิงหคณาจารย์
พ.ศ 2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ วันที่
12 สิงหาคม พ.ศ 2535 ในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชีนีนาถ
ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่
พระเทพสิงหบุราจารย์
พ.ศ 2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนชั้นสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ วันที่ 10
มิถุนายน พ.ศ 2539 ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ครบ
50 ปี ( พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ) ณ
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่
พระธรรมมุนี
การมรณภาพ
ในระยะหลัง หลวงพ่อ ได้งดกิจนิมนต์
โดยคำแนะนำจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงห์บุรี
เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวเองได้ รวมทั้งมีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน
และโรคชรา จนเมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ 2541
ทางคณะแพทย์ได้เห็นสมควรนำหลวงพ่อเข้าพักรักษาพยาบาล
ที่ โรงพยาบาลสิงห์บุรี เนื่องจากตรวจพบว่า หลวงพ่อ
เป็นโรคตับอักเสบ ทางคณะแพทย์ได้ถวายการรักษาจนอาการดีขึ้น
ต่อมาในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ 2541 ท่านอาการทรุดลง จนกระทั่งเวลา 01.30
น. ของวันที่ 8 กันยายน พ.ศ 2541 ท่านได้มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
ไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ทางคณะแพทย์ได้ทำการช่วยจน หลวงพ่อ
ฟื้นคืนชีพได้สำเร็จ และได้ถวายการดูแลรักษาจนอาการดีขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 10
กุมภาพันธ์ พ.ศ 2542 หลวงพ่อท่านได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ ห้อง 901
ชั้น 9 อาคารหลวงพ่อแพ เขมังกโร 94 ปี โรงพยาบาลสิงห์บุรี จ. สิงห์บุรี
สิริอายุรวม 94 พรรษา 73 ปัจจุบัน
ทางวัดพิกุลทองยังคงประดิษฐานนสรีระของหลวงพ่อแพเอาไว้
เพื่อให้ศรัทธาญาติโยม แลพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้สักการบูชากราบไหว้ตลอดไป.